วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วิเคราะห์ Ecommerce


สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจ Ecommerce ในประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ในประเทศไทย ระบุว่า ในปี 2546 ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซทั้งระบบมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 60,000,000,000 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าธุรกิจอี-คอมเมิร์ซได้สร้างมูลค่าเพิ่ม ทางเศรษฐกิจให้กับประเทศต่างๆ และประเทศไทยเป็นมูลค่าที่สูงมาก ตัวเลขทางเศรษฐกิจจากธุรกิจอี-คอมเมิร์ซดังกล่าว ไม่ใช่ดัชนีชี้วัดว่า ณ วันนี้ ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจอี-คอมเมิร์ซแล้วแต่อย่างใด จากการแถลงนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ว่ากระทรวงไอซีทีจะส่งเสริม และให้การสนับสนุน การทำธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์ หรือ อี-คอมเมิร์ซเต็มที่ เพราะเป็นบริการที่สามารถลดเวลา ลดค่าใช้จ่ายและทำให้การค้าขายมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะนี้ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือ ซิป้า ได้จัดตั้งตลาดกลางอิเล็คทรอนิกส์ หรือ อี-มาร์เก็ตเพลส ขึ้นแล้ว โดยในระยะแรก อาจจะเปิดให้ทำธุรกรรมต่างๆ ฟรี
คำถามที่เกิดขึ้น คือ สาเหตุใดที่ทำให้ธุรกิจ Ecommerce ในประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
ผู้ประกอบการ หลายคนยังขาดความรู้ความเข้าใจ ที่ถูกต้องในการใช้เว็บไซต์ เพื่อเป็นช่องทางจำหน่ายสินค้า ที่ผ่านมายังไม่ค่อยได้เห็นการสนับสนุนจากภารรัฐมากนัก จะมีก็ไปจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์ กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ผู้ประกอบการก็ต้องเดินเข้าไปหาเอง สำหรับเรื่องการชำระเงินของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ลูกค้า-ผู้ประกอบการ ก็ยังไม่มีความมั่นใจในกันและกัน เพราะจำนวนผู้ใช้บัตรเครดิต ในประเทศไทยยังมีไม่มาก ที่นิยมใช้เป็นช่องทางชำระเงินหลักๆ คือ การโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารพาณิชย์ ส่งพัสดุเก็บเงินปลายทางของ (พกง.) และ การส่งธนาณัติ ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด แต่ที่ช่วยผู้ประกอบการได้มากจริงๆ คือ บริการ อี-แบงก์กิ้ง (e- Banking) ที่ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบ การชำระเงินผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ตลอด 24 ชั่วโมง ได้แก่ ธนาคารทหารไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงไทย จะเห็นว่าที่มาสนับสนุนอี-คอมเมิร์ซจริงๆ คือ ภาคเอกชนที่เป็นสถาบันการเงินมากกว่าภาครัฐ ผู้ประกอบการ ส่วนใหญ่คิดว่ากิจการและธุรกิจของตัวเองที่มีความพร้อม สินค้าที่นำมาจำหน่ายมีคุณภาพ ก็สามารถดำเนินการเอง โดยจะไม่รอการสนับสนุนจากรัฐบาล แต่ทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย และสิ่งที่จะสนับสนุนผู้ประกอบการได้ดีกว่าภาครัฐคือ ผู้บริโภคที่เป็นกำลังซื้อหลัก ที่ต้องร่วมกันอุดหนุน หรือ เริ่มหันมาลงจับจ่ายซื้อของบนอินเทอร์เน็ตนั้นเอง
ทำไมร้านค้าออนไลน์ส่วนมากจึงไม่ประสบความสำเร็จ
1. ร้านค้าหรือห้างในประเทศไทย มีมากมายภายใน 1 อำเภอ อาจจะมีมากกว่า 4 แห่งก็ได้ ทั้ง Big C, Carfu, Lotus , ห้างประจำท้องถิ่น หรือ 7-Eleven มีมากมาย อยากจะได้อะไรก็เดินทางไปดูได้ด้วยตัวเอง การจะให้เว็บไซต์ของเราซื้อขายผ่าน Internet ได้ จึงต้องมีความแตกต่างกับการซื้อขาย ในห้างร้านทั่วไป
2. การชำระเงินออนไลน์ จากงาน E-commerce E-Business Expo 2007 ที่เพิ่งผ่านไปไม่นาน จะเห็นได้ว่า ธนาคารต่าง ๆ ทั้ง ธ.กสิกรไทย ธ.กรุงเทพฯ ฯลฯ ให้ความสำคัญกับการชำระเงินออนไลน์ และมีการจัดสัมมนาภายในงานอีกด้วย ทำให้เห็นได้ว่า ธนาคารต่าง ๆ เล็งเห็นถึงความสำคัญกับ E-commerce ในประเทศไทยที่มีโอกาสเติบโตได้ดียิ่งขึ้นในอนาคต ผู้ประกอบธุรกิจหลายหมื่นคน ให้ความสนใจมาก แต่บุคคลทั่วไป ที่ไม่มีความชำนาญในการใช้อินเทอร์เน็ต การจะให้หันมาใช้การซื้อขาย ผ่านเว็บไซต์ก็ยังคงเป็นเรื่องยากอยู่
3. การทำประชาสัมพันธ์หรือ การโปรโมทเว็บให้คนรู้จัก การทำเว็บไซต์เพื่อค้าขาย ก็เหมือนกับการเปิดร้านค้า ถ้าไม่โปรโมท ถ้าไม่บอกให้คนรู้ เว็บไซต์ก็จะไม่มีคนรู้จัก การทำเว็บไซต์ผู้ประกอบกิจการหลายแห่ง ให้ความสำคัญกับความสวยงามของเว็บ โดยการใช้แอนนิเมชั่นให้สวยงาม แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การใช้งานของเว็บไซต์ ที่ต้องคำนึงถึงผู้ใช้งาน มากกว่า เจ้าของเว็บ เว็บไซต์ต้องใช้งานง่าย เข้าถึงได้รวดเร็ว
4. เว็บไซต์ E-commerce เกือบทุกเว็บ จะขายเพียงอย่างเดียว เป็นการบังคับให้ลูกค้า เข้ามาซื้อของในเว็บไซต์ของตัวเอง เว็บไซต์ที่ดีไม่ได้เพียงแค่จะเอาเงินจากลูกค้าเพียงอย่างเดียว เราต้องให้อะไรกับลูกค้าก่อน ลูกค้าก็จะกลับเข้ามาซื้อสินค้าของเราเองในภายหลัง ซึ่งในส่วนนี้ อาจจะเป็น เรื่องของ บทความภายใน
5. เครื่องมือสื่อสารกับเจ้าของเว็บ ผู้ประกอบกิจการ E-commerce หลายคน มีเว็บเป็นของตัวเอง แต่อีเมล์ที่ใช้ กับเป็น ฟรีอีเมล์ อย่าง Hotmail, Google, Yahoo จะเป็นอย่างไรถ้าลูกค้าติดต่อกับคุณแต่ อีเมล์ที่ได้รับเป็น aodea_tom@hotmail.com ลูกค้าจะมั่นใจได้อย่างไรว่า อีเมล์ ที่ติดต่อนั้นคือ เจ้าของเว็บแน่ ๆ ถ้าไม่ใช่ info@siamwebthai.com

ปัจจัยที่ทำให้ ระบบการขายสินค้าในรูปแบบ E-commerce ในประเทศไทยประสบความสำเร็จ
ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในการนำการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ นอกจากจะตระหนัก และเข้าใจในคุณประโยชน์และขีดจำกัดดังกล่าวแล้ว ผู้ประกอบการจะดำเนินการตามกระแสวิวัฒนาการ(evolution) โดยจะยึดถือหลักที่เป็นสัจธรรม คือการเกิด การแก่ การเจ็บ และการตาย จะทำให้ผู้บริหารมีสติระลึกอยู่เสมอว่าไม่มีธุรกิจใดประสบความสำเร็จได้ชั่วข้ามคืน หรือแม้กระทั่งชั่วข้ามปี
วิวัฒนาการ มีองค์ประกอบที่สำคัญสองประการ คือ มีแนวโน้ม (trend) และช่วงระยะเวลา (cycle) หรือวัฏจักร ที่ผู้ประกอบการจะต้องเฝ้าติดตามวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอว่า ธุรกิจกำลังยืนอยู่ ณ จุดใด เพื่อจะดำเนินการได้อย่างเหมาะสมโดยเฉพาะกับการนำทรัพยากรที่มีคุณลักษณะที่เหมาะสม และในจำนวนที่เหมาะสมใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิวัฒนาการสำคัญสามารถแบ่งออกได้สองส่วนที่มีความสัมพันธ์กันคือ
1. วิวัฒนาการของตลาด (market evolution) เป้าหมาย ผู้ประกอบการต้องมีความสามารถในการผสมผสาน แนวความคิดที่สำคัญสองประการ ได้แก่ วัฏจักรของผลิตภัณฑ์ (product life - eucle) ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของพลังผู้บริโภค การแข่งขัน เทคโนโลยีและกฎเกณฑ์ต่างๆ กับขบวนการในการยอมรับ (adoption process) ผลิตภัณฑ์ที่จะแทรกตัวเข้าสู่ตลาด (market penetration) ที่แบ่งผู้บริโภคผู้ใช้ออกเป็นกลุ่ม เช่น ผู้นำที่รับนวัตกรรมทันที (innovator) ผู้รับนวัตกรรมรุ่นแรกๆ (early adoptor)
แนวความคิดทั้งสองจะทำให้ผู้ประกอบการมองเห็นทั้งแนวโน้มและศักยภาพ ที่จะนำมาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ และแนวนโยบายในการลงทุนให้สอดคล้องกับการพยากรณ์การขายที่คำนึงถึงแนวความคิดทั้งสอง
2. วิวัฒนาการองค์กร (organization evolution) ที่ทุกองค์กรจะต้องให้เวลาในการแสวงหาความอดทน และความสามารถในการบริหารงาน ไม่พึ่งเพียงเงินทุนอย่างเดียว เพราะเงินไม่สามารถซื้อ ความภักดีของพนักงาน คู่ค้า และลูกค้าได้ ความสำเร็จในการนำการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ จะเริ่มจากความสามารถของผู้ผลิตในการเสริมสร้างรากฐานภายในให้แข็งแกร่ง ทั้งบุคลากร อุปกรณ์และโปรแกรมต่างๆ ก่อน ถ้าองค์กรอ่อนแอก็จะขาดสมรรถภาพของการแข่งขัน ที่จะนำองค์กรไปสู่ความล้มเหลวได้
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1. นโยบายการคืนสินค้า (Return Policy) ถึงแม้ว่าจะมีรายละเอียดของสินค้าปรากฏอยู่บนเว็บไซต์ก็ตามแต่สินค้าจำพวกอัญมณีเหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณา และจับต้องThaigem.com ยินยอมให้ลูกค้าคืนสินค้าอย่างไม่มีเงื่อนไขได้ภายใน 30 วัน
2. การรับประกันสินค้า (Gemological Authenticity Certificate) เพื่อความมั่นใจในตัวสินค้า Thaigem.com ได้มีการออกใบรับรองสำหรับสินค้าที่ซื้อบนเว็บไซต์นี้
3. เปิดโอกาสให้ลูกค้ากำหนดราคาซื้อที่พอใจ (Make an Offer) ความจริงแล้วนี่คือรูปแบบของAuction นั่นเอง การเปิดโอกาสให้ลูกค้าค้นหารายการสินค้าและกำหนดราคาซื้อเป็นนโยบายการตลาดที่ยอดเยี่ยม ทำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นกันเอง คล้ายกับการซื้อขายปกติที่มีการโต้ตอบ และการหลีกเลี่ยงคำว่า “Auction” สร้างความรู้สึกที่ดีกว่าให้กับลูกค้าอีกด้วย
4. การจัดส่ง (Delivery) เพื่อความมั่นใจ เว็บไซต์แห่งนี้เลือกใช้บริการของ Fedex ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในมาตรฐานการให้บริการในระดับโลก และเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถติดตามสถานะของรายการสินค้าที่สั่งซื้อผ่านทางเว็บไซต์อีกด้วย
5. นโยบายการชำระเงิน (Payment System) เพื่อความสะดวก ลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตที่มีระบบความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานสูง (SSL - Secure Socket Layer) หรือผ่านตัวกลางที่เป็น Third Party อาทิเช่น Escrow.com หรือ PayPal เป็นต้น
6. นโยบายด้านความเป็นส่วนตัว (Privacy) มีการระบุชัดในเรื่องของมาตรฐานของความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้าเช่นเดียวกับเว็บไซต์มาตรฐานทั่วไป จะเห็นได้ว่าความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจผ่านอีคอมเมิร์ซนั้นมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมาได้ง่าย หากแต่มาจากการริเริ่มแบบค่อยเป็นค่อยไป และการเข้าใจถึงพฤติกรรมของลูกค้าอย่างแท้จริง ทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบการสั่งซื้อ การรักษาความปลอดภัย คุณภาพและการรับประกันในตัวของสินค้าและระบบการชำระเงินที่เชื่อถือได้

อ้างอิงข้อมูลจาก
http://vclass.mgt.psu.ac.th
http://student.swu.ac.th
http://www.artsmen.net

11 ความคิดเห็น:

  1. มีเนื้อหาเยอะและดเจนดี แต่ในข้อที่แรกน่าจะมีการนำเสนอข้อมูลบนเว็บไซต์ หลายเว็บไซต์ยังขาดทักษะเรื่องของภาษา การนำเสนอขายสินค้าบางครั้งแค่ใส่ขนาดกับราคาเพียงเท่านั้น ขาดรายละเอียดทั้งในเรื่องของวัสดุ การใช้งาน และข้อมูลต่างๆที่ ลูกค้าต้องการเพิ่ม ที่สำคัญ นโยบายรับคืนสินค้า หลายเว็บไซต์มักเกรงปัญหาของคืน จึงไม่ได้ใส่เงื่อนไขสำคัญนี้ในเว็บของตน หรือบางเว็บไซต์ก็ใส่ข้อมูลที่เยอะมากเกินไป กว่าลูกค้าจะคลิกเข้าไปซื้อของได้ก็เสียเวลาเปิดเข้าไปในแต่ละหน้านานมาก

    ตอบลบ
  2. เนื้อหาได้สาระมากค่ะ ทำให้เราได้ข้อมูลได้เยอะเรย

    ตอบลบ
  3. มีเนื้อหาสาระ เพิ่มเติมจากหลายๆบล็อกที่ผ่านมา ทำให้ได้อีกหนึ่งมุมมองที่แตกต่างออกไป

    อ่านแล้วเข้าใจดีค่ะ

    ตอบลบ
  4. สาระมีความชัดเจนดีคะ
    ดิฉันขอเสนอปัญหา และแนวทางการแก้ไขที่เป็นความคิดเห็นส่วนตัวคะ
    ปัญหาความยากจนยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง โดยทำให้เกิดความด้อยโอกาสและขาดความรู้ทางเทคโนโลยี รวมทั้งขาดเครือข่ายการสื่อสาร สามารถแก้ไขโดยรัฐต้องเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อให้ทุกคนเข้าถึง E-Commerce ได้

    ตอบลบ
  5. ดีมากค่ะมีเนื้อหาที่เข้าใจง่าย

    ตอบลบ
  6. เนื้อหาสาระดีครับ ครอบคลุมดีนะครับ
    ส่วนมุมมองของผมนั้นอาจมีส่วนปัจจัยต่างๆ เข้ามาเพิ่มอีก ซึ่งก็คือเรื่องลักษณะนิสัยของคนไทยเข้ามาเกี่ยวข้องตลอดจนภูมิสภาพทางการตลาดของผู้บริโภคซึ่งแตกต่างจากประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าด้าน E-commerce เป็นอย่างมาก รวมถึงด้านทัศนคติต่างๆของคนไทยที่ยังเข้าระบบที่ยังไม่ทั่วถึง อีกทั้งยังด้านไม่ไว้วางใจในด้านธุรกิจประเภทนี้ด้วยนะครับและอีกประเด็นคือสภาพเศรษฐกิจความเป็นอยู่ของคนไทยนั้นคือ ความยากจนที่เป็นปัญหาใหญ่ครับ

    ส่วนการที่จะพัฒนาE commerceในไทยได้ผล ผมคิดว่านอกจากปัจจัยที่กล่าวมานั้น น่าจะมีการสร้างพันธมิตรทางการค้าเข้ามามีส่วนช่วยเหลือระหว่างกันด้วยนะครับ อีกทั้งการให้ัฐบาลมามีส่วนช่วยอีกด้วยนะครับ

    ซึ่งจากข้อมูลในบทความนี้ส่วนใหญ่สามารถทำให้มองเห็นถึงแนวทางในการดำเนินธุรกิจ E-commerce ได้เป็นส่วนหนึ่งครับ ขอบคุณครับ

    ฝากลิ้งค์ ครับ http://ebusinesskorawit.blogspot.com/

    ตอบลบ
  7. เนื้อหามีสาระมากครับ

    ตอบลบ
  8. อยากได้เนื้อเพิ่มเติมอีกอ่ะครับ

    ตอบลบ
  9. เนื้อหาละเอียด ครอบคลุมดีมากค่ะ

    ตอบลบ
  10. เนื้อหามีความชัดเจนมาก มีประโยชน์ต่อผู้อ่านอย่างยิ่ง อ่านเข้าใจดีค่ะ

    ตอบลบ
  11. ถ้าอยากประสบความสำเร็จในธุรกิจออนไลน์ แบบ E-commerce คิดว่าควรทำธุรกิจอะไรอะคะ ?

    ตอบลบ